RSS

** เทพเจ้าของอียิปต์โบราณ

21 ส.ค.

1.เทพรา คือ เทพแห่งดวงอาทิตย์ ร่างกาย เป็นมนุษย์หัวเป็นนกเหยี่ยว เป็นเทพบิดรแห่งเทพทั้งปวง สัญลักษณ์ของพระองค์คือ รูปจานกลมแห่งดวงอาทิตย์

เทพรา (อังกฤษ: Ra) หรือ เร (อังกฤษ: Re) หรือ อาเมน-รา (อังกฤษ: Amen-Ra) หรือ อามอน-รา (อังกฤษ: Amon-Ra) คือ เทพแห่งดวงอาทิตย์ในตำนานเทพเจ้าแห่งไอยคุปต์ของอียิตป์โบราณสัญลักษณ์ของเทพราคือวงกลมหนุนอยู่บนเรือ แต่ส่วนมากมักเป็นมนุษย์ พระเศียรเป็นนกเหยี่ยว เชื่อว่าถือกำเนิดมาจากแม่น้ำแห่งเทพนุน กายล้อมรอบด้วยกลีบดอกบัว ทุกวันเมื่อเข้าสู่ราตรีกาล เทพราจะกลับมาบรรทมในดอกบัวนี้ สัญลักษณ์ของพระองค์เป็นนกศักดิ์สิทธิ์ เรียกว่า นกเบนนู (Bennu bird) เกาะที่ยอดพีระมิด ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งแสงอาทิตย์

เทพราเป็นดั่งบิดาแห่งมวลมนุษย์และสรรพสิ่งทั้งหลาย ทรงสร้างเทพชู เทพแห่งลม เทพีเตฟนุต เทวีแห่งสายฝน เทพเกบ เทพแห่งปฐพี เทพีนัต เทวีแห่งท้องฟ้าและ เทพฮาปี เทพแห่งแม่น้ำนิลนาม เทพรามีหลายพระนามด้วยกันคือ ในตอนเช้ามักถูกเรียกว่า เฆปรี (Khepri) หรือ เฆเปรา (Khepera) เรียกว่าราในตอนกลางวัน และตุม (Tum) หรืออาตุม (Atum) ในตอนเย็น

เทพรา จะเสด็จออกจากเมืองเฮลีโอโปลิสพร้อมกับเหล่าเทพเจ้า โดยใช้เรือสุริยันเป็นยานพาหนะ เพื่อตรวจเยื่ยมราษฎรในแคว้นทั้ง 12 แคว้น ทำให้เกิดแสงอาทิตย์ตลอด 12 ชั่วโมงใน 1 วัน และในเวลากลางคืนพระองค์จะท่องไปในแดนมตภพดูอัตจากฝั่งตะวันตกไปฝั่งตะวันออก และมีตำนานเกี่ยวกับเทพราอีกมากมาย แต่ก่อนเทพราจะมีเฉพาะฟาโรห์เท่านั้นที่สักการะได้

ดึงข้อมูลจาก “http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B2”.

2.เทพโอซีริส คือ เทพแห่งเกษตรกรรม เทพผู้ยิ่งใหญ่แห่งยมโลก ฟาโรห์ที่สวรรคตจะทรงไปรวมกับโอซิริสในดินแดนหลังความตายในที่ฝังพระศพจะมี

เทพโอซีริส (Osiris) คือหนึ่งในเทพของ ตำนานเทพเจ้าแห่งไอยคุปต์ เทพแห่งเกษตรกรรม โบราณ ซึ่งผู้นับถือมาจากซีเรีย (Syria) ทรงเป็นพระโอรสองค์แรกของเทพเกบและเทวีนุต ทรงเกิดที่เมืองธีบส์ (Thebes) เมื่อทรงประสูติ มีเสียงร้องดังเข้าไปถึงในวิหารร้องว่า กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่และเพียบพร้อมได้ประสูติแล้ว หรือเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดได้เข้ามาสู่แสงสว่างแล้ว

กล่าวกันว่าเทพโอซีริส และเทวีไอซิสตกหลุมรักกันตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์ บางกรณีก็กล่าวว่าทั้งสองพระองค์ทรงอภิเษกกัน และเทพโอซีริสได้บัลลังค์จากเทพเกบผู้เป็นบิดา

ตามตำนานของเทพโอซีริส พระองค์ได้สอนศิลปวิทยาการทั้งหลายแก่มวลมนุษย์ โดยมีเทพธอธเป็นผู้ช่วย ในช่วงที่เทพโอซีริสไม่อยู่นั้น เทพเซ็ตซึ่งเป็นพระอนุชาคิดกบฎ อยากได้บัลลังค์และตัวเทวีไอซิส ทั้งยังต้องการเปลี่ยนกฏระเบียบใหม่ แต่เทวีไอซิสรู้ทันทุกครั้ง

ครั้งเมื่อเทพโอซีริสเสด็จกลับมาไม่นาน เทพเซ็ตและอาโส (Aso) ราชินีแห่งเอธิโอเปียและกบฏอีก 72 คน ได้ร่วมกันล้มล้างเทพโอซีริสจนสำเร็จ ร่างของเทพโอสซีริสถูกจับโยนลงแม่น้ำนิล เทวีไอซิสพยายามค้นหาจนพบแล้วใช้พลังมายิกของพระนางร่วมกับความช่วยเหลือของเทพธอธ เทวีเนฟธีส เทพอานูบิสและเทพฮอรัส ทำให้เทพโอซีริสซึ่งได้เดินทางไปยังโลกแห่งความตายหรือมตภพดูอัตแล้วกลับมามีชีวิตอีกครั้ง แต่พระองค์อยากปกครองโลกแห่งความตายมากกว่า ดังนั้นจึงยกราชสมบัติให้เทพฮอรัสผู้เป็นโอรสแทน

สัญลักษณ์ของพระองค์มักเป็นชาย ประทับยืนอยู่หรือประทับนั่งบนบังลังค์ หรือวาดเป็นมนุษย์กำลังลุกจากแท่นตั้งศพ หรือเป็นกษัตริย์พระหัตถ์โผล่ขึ้นมาจากผ้าพันมัมมี่ ถือแส้เป็นสัญลักษณ์ของอำนาจสูงสุด พระวรกายเป็นสีแดงแสดงถึงพื้นดิน หรือสีเขียวที่แสดงถึงพืชพันธุ์ ทรงสวมมงกุฏสีขาวแสดงถึงไอยคุปต์ตอนบน และมีขนนกสีแดงสองเส้นแห่งเมืองบูสีริส(Busiris) ประดับอยู่ บางครั้งจะสวมวงสุริยะและเขาสัตว์

ดึงข้อมูลจาก “http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AA”.

ภาพโอซิริสเสมอ โอซิริสจะอยู่ในรูปบุรุษทรงเครื่องและมงกุฎของฟาโรห์ แต่มีผิวกายสีดำและถูกพันผ้าไว้แบบมัมมี่

3.เทพฮอรัส คือ โอรสแห่งโอซิริส และไอซีส ทรงสภาพเป็นนกเหยี่ยว เป็นเทพเจ้าแห่งท้องฟ้าและถูกทียบเป็นองค์ฟาโรห์เมื่อยังทรงพระชนม์ จึงจะพบรูปสลักองค์ฟาโรห์มีเทพฮอรัสรวมอยู่ด้วยเสมอฮอรัส คือตัวแทนแห่งความฉลาดแหลมคม และมีดวงตาที่มองทะลุได้อย่างรู้แจ้งเห็นจริง

เทพฮอรัส
เทพฮอรัส (อังกฤษ: Horus) ทรงเป็นพระโอรสของเทพโอซีริส และเทวีไอซิสและเป็นพระสวามีของเทวีฮาธอร์ ทรงเป็นเทพที่เกิดจากการรวมกันของเทพนกเหยี่ยวและเทพแห่งแสงสว่าง ทรงมีพระเนตรขวาเป็นดวงอาทิตย์และพระเนตรซ้ายเป็นดวงจันทร์ ซึ่งเป็นเพราะขณะที่สู้กับเซทนั้นถูกกัดที่ตาซ้ายจนหมองมัว

สัญลักษณ์ของเทพฮอรัสคือเป็นมนุษย์ที่มีศีรษะเป็นนกเหยี่ยว ทรงสวมมงกุฎสองชั้นหรือแกะสลักเป็นรูปวงสุริยะมีปีกอยู่ที่รั้ววิหารประจำพระองค์ หรือคือนกเหยี่ยวกำลังบินอยู่เหนือการสู้รบของฟาโรห์ ที่อุ้งเล็บมีแส้แห่งความจงรักภักดีและแหวนแห่งความเป็นนิรันดร์อยู่

เทพฮอรัสทรงมีพระนามมากมายตามท้องที่ที่สักการะและความเชื่อ เช่น เทพฮาโรเอริส (Haroeris) ฮอรัส เบฮ์เดตี (Horus Behdety) ฮาราเคต ฮาร์มาฆิส (Harmakhis) และ ฮาร์สีเอสิส (Harsiesis)

4.เทพอานูบิส คือ เทพแห่งความตาย และการจัดการพิธีศพ มีรูปเป็นหมาไน จะพบรูปอนูบิสในหลุมฝังศพ และที่ฝังพระศพทุกแห่ง

เทพอานูบิส
เทพอานูบิส(Anubis)เป็นพระโอรสของเทวีเนฟธีส และเทพโอสิริส ทรงมีสัญลักษณ์เป็นสุนัขไนสีดำเพราะออกหากินเวลากลางคืน ซึ่งเป็นสัตว์ในทะเลทรายใกล้สุสาน ทรงได้รับความเคารพมากในไอยคุปต์โดยเฉพาะในทะเลทรายแห่งตะวันตกที่เรียกว่าบ้านแห่งความตาย

ทรงเคยเป็นเทพแห่งความตายมาก่อนเทพโอสีริสและเป็นเทพแห่งความตายสำหรับฟาโรห์องค์แรก เทวีอีสิสทรงเลี้ยงพระองค์มาดั่งลูกในไส้ เมื่อโตขึ้นเทพอานูบิสจึงเป็นผู้ปกป้องพระนาง

พระองค์เป็นผู้เสาะหาน้ำมันหอมหรือยาที่หายากในการทำมัมมี่ศพเทพโอสีริสร่วมกับเทวีอีสิสและเทวีเนฟธีสพระมารดา จากนั้นพระองค์จะทำพิธีศพให้เทพโอสีริส พิธีที่พระองค์ทรงคิดขึ้นนั้นเป็นรูปแบบพิธีการฝังศพในเวลาต่อมา

มีความเชื่อว่าเทพอานูบิสมีบทบาทอย่างมากมายหลายประการ ยกตัวอย่าง เช่น

•ทรงเป็นผู้ช่วยในการดองศพให้ถูกต้อง และสร้างองค์ประกอบขึ้นมาใหม่*
•ทรงเป็นผู้รับมัมมี่ในหลุมศพเป็นการเปิดพิธีกรรม
•ทรงเป็นสื่อกลางในการนำวิญญาณไปที่สนามแห่งของขวัญจากฟ้า โดยใช้มือปกป้องมัมมี่
ที่สำคัญที่สุดคือ ทรงเป็นผู้ช่วยในการชั่งวิญญาณ โดยเป็นผู้ดูตาชั่งอย่างละเอียดโดยมีขนนกเป็นเครื่องวัดถ้าขนนกเอนขึ้นแปลว่ามีความผิดมาก ถ้าคนนกเอนลงถือว่ามีความดีมาก ส่วนเทพธอธจะเป็นผู้บันทึกการตัดสิน เมื่อถือว่าวิญญาณนั้นบริสุทธิ์แล้ววิญญาณจะไปเข้าเฝ้าเทพโอสีริส เพื่อพิพากษาให้ไปสู่ในโลกแห่งวิญญาณใหม่ หากไม่บริสุทธิ์จะถูกลงโทษอย่างโหดร้าย

เทพอานูบิสมีสัญลักษณ์เป็นชาย มีศีรษะเป็นสุนัขในหรือเป็นสุนัขคอยติดตามเทวีไอสิส หรือเป็นสุนัขจิ้งจอก หรือสุนัขชูคอหมอบอยู่ที่ฐานหรือบนหลุมศพ

ดึงข้อมูลจาก “http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%AA”.

5.เทวีไอซิส คือ อัครเทวีที่คนอียิปต์ให้ความนับถือมากที่สุด เป็นเทวีแห่งความรัก และการอุทิศตนเพื่อสามีและบุตร และยังมีมนต์ และชื่อเสียงทางด้านการรักษาโรคภัยไข้เจ็บด้วยไอซีมีพระรูปเป็นหญิงงาม ทรงเครื่องอย่างมเหสีแห่งฟาโรห์

เทวีไอซิส
เทวีไอซิส บางตำราว่าเป็นธิดาของเทพเกบและเทพีนุต แต่ตำราที่จะเล่าต่อไปนี้ เทพีไอซิสเป็นธิดาของเทพรากับเทพีนุต (หรือ เทพีนัต) ซึ่งต้นกำเนิดของพระนางเริ่มมาจาก หลังจากที่เทพราได้อภิเษกกับเทพีนุตแล้ว เทพราปรารถนายิ่งนักที่จะได้โอรสธิดา แต่รอแล้วรอเล่าเทพีนุตก็ไม่ทรงครรภ์ เทพราทรงพิโรธ จึงได้สาปว่าเทพีนุตไม่มีวันที่จะตั้งครรภ์ได้ เทพีนุตเสียใจเป็นอันมากจึงได้ไปปรึกษาเทพธอทแห่งความรอบรู้ ซึ่งหลงรักเทพีนุตตลอดมา เทพธอทจึงแลกเปลี่ยนว่าถ้าเทพีนุตมีโอรสธิดาให้เทพราได้ พระนางต้องมอบความรักให้แก่เทพธอท ซึ่งเทพีนุตก็ตกลง

เทพธอทได้ไปท้าพนันกับเทพคอนชู เทพพระจันทร์ซึ่งโปรดปรานการพนัน โดยแสร้งเดินหมากกันจนหลงวันลืมคืน เทพคอนชูไม่รู้เท่าทันเล่ห์กลจึงเปล่งแสงอยู่ตลอดเวลาจนกระทั่งแสงมีมากพอเท่ากับแสงจากพระอาทิตย์จำนวน 5 วัน เทพธอทจึงเลิกเล่นหมากกับเทพคอนชู จากนั้นมาเพราะแสงมีไม่มากพอ เทพคอนชูจึงจำเป็นต้องลดแสงลงบ้างเวลาตอนกลางคืน กำเนิดเป็นข้างขึ้นข้างแรมแต่นั้นมา

เทพธอทนำแสงที่นอกเหนือจากแสงอาทิตย์ของเทพรามาสร้างเป็นวันจำนวน 5 วันพอให้เทพีนุตตั้งครรถ์ ทำให้เกิดเหล่าเทพเทพีจำนวน 5 องค์ คือ

1. วันที่หนึ่ง เทพีนุตให้กำเนิดเทพโอซีริส เทพกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ (การกำเนิดของพระองค์เลื่องลือไปทั่วทั้งสรวงสวรรค์ ด้วยเทพโอซิริสเป็นเทพที่ยิ่งใหญ่มาก)

2. วันที่สอง เทพีนุตให้กำเนิดเทพฮามาร์คิส เทพเจ้าแห่งรุ่งอรุณและเทพนักรบ หรือนัยหนึ่งคือ สฟิงซ์

3. วันที่สาม เทพีนุตให้กำเนิดเทพเซต เทพเจ้าแห่งความชั่วร้าย (เทพเซตกำเนิดในฤกษ์ร้าย และฉีกครรภ์ของพระมารดาออกมา)

4. วันที่สี่ เทพีนุตให้กำเนิดเทพีไอซิส เทพีแห่งความรักและไสยศาสตร์

5. วันที่ห้า เทพีนุตให้กำเนิดเทพีเนฟธิส เทพีผู้คุ้มครองวิญญาณคนตาย ต่อมาเป็นชายาเทพเซต

เทพีไอซิสกับเทพโอซิริสนั้นหลงรักกันตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของเทพีนุต ทั้งสองเติบโตมาด้วยกันและเป็นศิษย์ร่วมอาจารย์ เทพโอซิริสทรงมีวิสัยผู้นำและเก่งกล้าสามารถ ส่วนเทพีไอซิสเก่งกาจด้านมนตราทั้งหลายและมีสติปัญญาเปรื่องปราดนัก กระทั่งครั้งหนึ่ง เทพีไอซิสคิดอยากให้เทพโอซิริสได้ขึ้นครองบัลลังก์ไอยคุปต์ จึงใช้สติปัญญาของพระนางลวงเทพรา จนเทพราหลงบอกพระนามจริงซึ่งผู้ใดรู้จะมีอิทธิฤทธิ์ยิ่งใหญ่ พระนางเลยมอบฤทธิ์ให้แก่เทพโอซิริส เพราะเหตุนั้นเทพราจึงสละบัลลังก์ให้แก่เทพโอซิริส เมื่อเทพโอซิริสขึ้นเป็นเทพราชา พระองค์จึงจัดอภิเษกสมรสกับเทพีไอซิสเป็นพระราชินีเคียงคู่กัน

อียิปต์รุ่งเรืองอย่างมากในยุคสมัยของเทพโอซิริสและเทพีไอซิส ทั้งสองสั่งสอนประชาชนให้รู้จักอารยธรรม และประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ จนเหล่าราษฏรต่างเคารพนับถือในเทพเทพีทั้งสองเป็นอย่างมาก แต่เรื่องราวต่างๆไม่รอดพ้นสายตาของเทพเซตผู้ริษยาเทพเชษฐามาตลอด เทพเซตต้องการเป็นพระราชา จึงสังหารเทพโอซิริสใส่โลงลอยตามแม่น้ำไนล์ไป ในขณะนั้นเทพีไอซิสมิได้อยู่ใกล้ชิดสวามี พระนางเศร้าโศกเสียใจเป็นอันมาก

เทพเซตยึดบัลลังก์และตั้งตัวเป็นใหญ่ แต่ทว่าเส้นทางของเทพผู้ชั่วร้ายไม่ราบรื่นเพราะเทพีไอซิสตั้งครรภ์ ด้วยความรักที่ยิ่งใหญ่ เทพีไอซิสสืบเสาะหาร่องรอยสวามีไปทั่วไอยคุปต์อย่างยากลำบากถึงขนาดต้องประสูติโอรส เทพโฮรัส หรือ เทพฮอรัส กลางเส้นทาง เทพีไอซิสมอบโอรสในปกครองของเทพีบูโตทั้งที่ห่วงหาเป็นยิ่งนัก แต่พระนางจำเป็นต้องนำพระศพมาประกอบตามพิธี ไม่เช่นนั้นเทพโอซิริสก็ไม่สามารถไปยังดินแดนแห่งความตายได้

เทพีไอซิสพบพระศพหลังจากตามหามาแสนนาน พระนางซบพระพักตร์ร่ำไห้กับโลงสวามีและจะนำพระศพไปประกอบพิธี แต่เทพเซตผู้ชั่วร้ายก็ตามหาพระศพเจอ จึงได้ฉีกศพเทพโอซิริสขาดวิ่นและโยนไปทั่วไอยคุปต์ เทพีไอซิสจึงต้องตามหาพระศพของสวามีอีกครั้งอย่างแสนเข็ญยิ่งกว่าเดิม

แต่โชคร้ายยังไม่จากเทพีไอซิสไป เมื่อเทพเซตต้องการล้างเสี้ยนหนามขวางทางสู่การเป็นราชา จึงได้ส่งงูไปสังหารเทพโฮรัสที่ยังเป็นแค่ทารกจนสิ้นใจในอกของพระนาง เทพีไอซิสต้องประสบเคราะห์กรรมสาหัส แต่เหล่าทวยเทพบอกพระนางว่า เทพโฮรัสจะฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีก แถมจะเก่งกล้าสามารถถึงขั้นสังหารเทพเซตลงได้ ขอให้พระนางติดตามพระศพต่อไปเถิด

เทพีไอซิสต้องการแก้เผ็ดเทพเซต จึงแปลงกายเป็นเทพีเนฟธิสขอคำสาบานจากเทพเซตว่า จะไม่ทำร้ายโอรสของพระนางจนกว่าโอรสของพระนางทำร้ายเทพเซตก่อน ซึ่งจะทำให้เทพโฮรัสฟื้นคืนชีพมาได้สำเร็จและปลอดภัยจนกว่าจะเติบใหญ่ เทพเซตนึกว่าเทพีเนฟธิสเป็นผู้พูดจึงตกปากรับสาบาน ทันใดนั้นเทพีไอซิสก็เผยร่างจริงออกมา ทำให้เทพเซตเดือดดาลเป็นอันมาก

หลังจากทุกข์ทรมาณกายใจมาตลอดหลายปี เทพีไอซิสก็ติดตามชิ้นส่วนของเทพโอซิริสจนครบและประกอบพิธีศพได้ โดยมีเทพอานูบิส เทพแห่งความตาย (โอรสที่เกิดแต่เทพีเนฟธิสผู้หลงรักเทพโอซิริส พระนางได้แปลงกายเป็นเทพีไอซิสและมอมสุราเทพโอซิริส จนมีเทพอานูบิส แต่บางที่ก็ว่าที่แท้จริงแล้วเทพอานูบิสเป็นโอรสเทพีเนฟธิสกับเทพเซตนั่นเอง) เป็นผู้ทำพิธีศพให้ มีการพันผ้ารอบศพและลงน้ำยา ก่อให้เกิดการทำมัมมี่ขึ้นมาตั้งแต่ตอนนั้น เมื่อเทพโอซิริสไปถึงดินแดนแห่งความตายแล้ว พระองค์ก็ยิ่งใหญ่ถึงขนาดเป็นราชาแห่งโลกของคนตาย

เวลาแห่งการล้างแค้นมาถึง เมื่อเทพโฮรัสได้ฟื้นขึ้นจากตาย (พระองค์มีสัญลักษณ์คือนกฟีนิกซ์ วิหคอมตะ) เทพบิดา เทพมารดา และเหล่าทวยเทพอีกมากมายได้สั่งสอนสิ่งต่างๆจนเทพโฮรัสเก่งกาจทั้งบู๊และบุ๋น ต่อมาเทพโฮรัสปราบเทพเซตลงได้ตามคำทำนาย และเป็นเทพกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งไอยคุปต์ ครอบครองบัลลังก์อย่างชอบธรรม

ท้ายสุด เทพครอบครัวนี้ก็ได้มาอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขอีกครั้งหนึ่ง ผู้คนในอียิปต์เมื่อบูชาเทพองค์ใดองค์หนึ่งในนี้ ก็จะบูชาเทพทั้งสององค์ร่วมด้วย และเป็นสัญลักษณ์ต่อกันมาว่า ฟาโรห์ที่สิ้นพระชนม์ไปแทนเทพโอซิริส องค์รานีคือเทพีไอซิส และฟาโรห์องค์ต่อมาคือเทพโฮรัส

[แก้] ลักษณะของเทวีไอซิส
สัญลักษณ์ของเทวีไอซิสมีหลายแบบ พระนางอาจเป็นมนุษย์ที่มีศีรษะเป็นวัว หรือมีดวงจันทร์สวมบนศีรษะ หรือสวมมงกุฎรูปดอกบัวและมีหูเป็นข้าวโพด หรือถือขาแพะ สัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ แต่ถ้าเป็นรูปปั้นมักเป็นรูปพระมารดากำลังให้นมเทพเจ้าฮฮรัสอยู่ แสดงถึงการปกป้องเด็กๆจากโรคภัย บนศีรษะมีเขาสองเขาและมีวงสุริยะอยู่ตรงกลาง

6.เทวีเสลเคต คือ เทวีผู้ดุร้าย คอยปกป้องเทพทั้งมวลโดยเฉพาะสุริยเทพ เป็นผู้นำความหายนะมาสู่ศัตรูผู้คิดร้ายกับสุริยเทพ มีรูปเป็นสิงโตตัวเมีย สวมศิราภรณ์รูปจานกลมแห่งดวงอาทิตย์

เทวีเสลเคต
เทวีเสลเคต (Selket) หรือเสร์คูเอต (Serquet) เทวีแมงป่อง มีชื่อเสียงขึ้นมาโดยราชาแมงป่อง กษัตริยก่อนราชวงศ์ พระนางเกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์ เพราะพระนางเป็นหนึ่งในเทวีผู้พิทักษ์ต้นน้ำทั้งสี่แห่งแม่น้ำนิล หน้าที่ของเทวีเสลเคตคือ เป็นคนเฝ้างูอาโปฟิส ศัตรูของเทพราที่ถูกมัดและขังไว้ใต้พิภพ พระนางเป็นชายาของเทพเนเฆบคาอู (Nekhebkau) เทพแห่งงูใหญ่ มีแขนเป็นมนุษย์ ซึ่งบางครั้งก็ถือว่าเป็นหนึ่งในเหล่าปีศาจซึ่งอาศัยอยู่ใต้โลก กล่าวกันว่าเทวีเสลเคตถูกมัดด้วยโซ่จนสวรรคต แต่พระสวามีของเธอบางครั้งก็เป็นเทพที่ดี คอยให้อาหารแก่วิญญาณของผู้ตาย ถ้าในกรณีนี้ เทวีเสลเคตก็เป็นเทวีที่ดีด้วย

โดยปกติแล้วเทวีเสลเคตจะช่วยเทวีไอสิสทำพิธีศพเทพโอสิริสและเป็นผู้ช่วยคอยดูแลเทพโฮรุส พระนางจะประทับยืนอยู่กับเทวีอีสิสตรงปลายโลงศพ และเป็นเทพ 1 ใน 4 ที่ประจำที่ไหเก็บเครื่องในมัมมี่ที่เก็บลำไส้

เทวีเสลเคตมีสัญลักษณ์เป็นมนุษย์ ศีรษะเป็นแมงป่อง หรือกายเป็นแมงป่อง ศีรษะเป็นมนุษย์ บางครั้งก็เป็นเช่นเดียวกับเทวีไอสิส หรือปกป้องผู้ตายด้วยปีกที่แขนของนาง

ดึงข้อมูลจาก “http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%95”.

7.อิมโฮเตป คือ เทพเจ้าแห่งลำน้ำ มีรูปเป็นจรเข้ เป็นเทพแห่งความอุดมสมบูรณ์ เพราะชีวิตของคนอียิปต์ขึ้นอยู่กับแม่น้ำไนล์
มัมมี่จระเข้ของโซเบคจะพบได้ทั่วไปในเขตที่นับถือเทพองค์นี้ริม 2 ฝั่งแม่น้ำไนล์

อิมโฮเตป (Imhotep) เป็นหนึ่งในมนุษย์เทพของ ตำนานเทพเจ้าแห่งไอยคุปต์

[แก้] ประวัติ
อิมโฮเตป เป็นอัครเสนาบดีของฟาโรห์โจเสร์ (Djoser) ฟาโรห์องค์แรกหรือคนที่ 2 ของราชวงศ์ที่ 3 มีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองเมมฟิส เป็นคนแรกที่บันทึกประวัติศาสตร์ของชาวไอยคุปต์ไว้ มีชื่อเสียงโด่งดังในความสามารถหลายอย่าง ทั้งเป็นนักเขียน เป็นหมอ เป็นนักบวชที่เรียนรู้หลักคำสอนของเฮลีออโปลีเทนและเป็นผู้ที่ค้นพบหลักวิชาดาราศาสตร์และสถาปัตยกรรม

ความฉลาดปราดเปรื่องของอิมโฮเตปทำให้ประชาชนเชื่อถือว่าเขาเกี่ยวข้องกับเทพองค์สำคัญ อย่างเช่น เทพปตาฮ์และเทพธอธ

ชาวไอยคุปต์ทุกสมัยรู้จักผลงานทางด้านสถาปัตยกรรมของอิมโฮเตปในนามของปิรามิดขั้นบันไดหรือมาสตาบาแห่งโจเสร์ที่สักการา ใกล้ๆกับเมืองเมมฟิส พีระมิดชนิดนี้สร้างจากก้อนหินปูนที่นำมาจากเมืองตูรา (Tura) บนริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำนิล เป็นพีระมิดแห่งแรกที่ก่อสร้างด้วยหินล้วนๆ มีลักษณะเป็นขั้นบันไดขนาดใหญ่สำหรับกษัตริย์ขึ้นไปบนท้องฟ้า แวดล้อมด้วยวิหารที่ใช้สำหรับประกอบพิธีกรรมและสถานที่เฉลิมฉลองของกษัตริย์มากมาย

สัญลักษณ์ของอิมโฮเตปเป็นนักบวชโกนศีรษะ นั่งหรือคุกเข่าบนม้วนกระดาษพาไพรัส บางครั้งก็สวมกระโปรงยาวอย่างนักบวช ม้วนกระดาษปาปิรุสแสดงถึงแหล่งของความรู้ ส่วนการแต่งกายอย่างนักบวชนั้นเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธ์ทางศาสนา

ดึงข้อมูลจาก “http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%AE%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%9B”.

8.อาเมนโฮเตป คือ เป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่แห่งเมืองธีบส์ มีรูปเป็นบุรุษเพศ เศียรประดับศิราภรณ์รูปขนนกยาว ยุคหลังพระนามเพี้ยนเป็น อาตอน หรือ อาเตน ในยุคของฟาโรห์อาเมนโฮเทปที่ 4 ได้ทรงพยายามให้คนอียิปต์ทั้งมวลหันมาเคารพเทพอาเตนเพียงองศ์เดียวซึ่งนับเป็นความพยายามในการปฎิรูป
ความเชื่อครั้งยิ่งใหญ่ โดยฟาโรห์เองได้เปลี่ยนพระนามเป็น อัคนาเตน (Akhenaten) และฟาโรห์องศ์ต่อมาก็ทรงพระนามที่เกี่ยวข้อง คือ ตุตันคาเมน เป็นต้น
อาเตน หรืออามุน ถือเป็นเทพแห่งดวงอาทิตย์ ได้ถูกนำมารวมกับ รา หรื อ เร กลายเป็นสุริยเทพซึ่งเป็นใหญ่เหนือเทพทั้งปวง

อาเมนโฮเตป หรือ อาเมนโฮเตปที่ 3 เป็นหนึ่งในมนุษย์เทพของ ตำนานเทพเจ้าแห่งไอยคุปต์ เป็นอัครเสนาบดีแห่งอียิปต์โบราณ

อาเมนโฮเตป
อาเมนโฮเตป(Amenhotep) บุตรชายของฮาปู (Hapu) เป็นอัครเสนาบดีที่ราชสำนักของฟาโรห์อาเมนโฮเตปที่ 3 ในราชวงศ์ที่ 18 เขาคือหัวหน้าทางการทหาร แต่ก็เป็นสถาปนิกในการก่อสร้างสิ่งต่างๆหลายอย่าง

อาเมนโฮเตปได้รับความเคารพเนื่องจากเป็นสัญลักษณ์ของเนื้อแท้ประเพณี เป็นชายผู้มีความรู้ปรากฏในหนังสือศักดิ์สิทธิ์ทุกเล่ม และเป็นเช่น เทพธอธ ผู้เลิศเลอ เขาเป็นที่ปรึกษาที่สุขุมและเขียนหนังสือมายิกซึ่งแสดงให้เห็นถึงลักษณะตามธรรมชาติของเทพธอธ

อาเมนโฮเตปที่ 3 ได้สร้างรูปปั้นของเขาในวัดประจำของเขาที่คาร์นัค และสร้างหลุมฝังศพสำหรับความเป็นนิรันดร์บนฝั่งแม่น้ำนิลตะวันตกที่เมืองงเธเบส ฟาโรห์ปโตเลมีที่ 4 สร้างวัดที่เมืองเดอีร์-เอล-เมดีนา (Deir el-Medina) รอบๆหลัมฝังศพของอาเมนโฮเตป

ในวัดนี้ อาเมนโฮเตปและอิมโฮเตปจะได้รับการสักการะร่วมกัน อาเมนโฮเตปเกี่ยวข้องกับเทพโอสิริสและอามอน-ราเป็นพิเศษ มีสัญลักษณ์เป็นมนุษย์มีหนวด ถือม้วนกระดาษปาปิรุสอยู่

ดึงข้อมูลจาก “http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%AE%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%9B”.

9.ฮาเธอร์ คือ เทวีผู้ให้ ผู้มีความเมตตา จะอยู่ในรูปของวัว หรือเทพีที่มีเขาวัวอยู่บนเศียร ในสมัยหนึ่งน่าจะเป็นองศ์เดียวกับไอซีส เพราะตำนานบางแห่งก็ว่าเป็นมารดาแห่งฮอรัส แต่ภายหลังได้แยกจากกัน คือให้ ไอซีเป็นมารดาแห่งฮอรัส แต่ฮาเธอร์เป็นแม่นม จึงปรากฎรูปฮาเธอร์ในลักษณะวัว กำลังให้นมฟาโรห์อยู่

คณะเทพที่สำคัญในสมัยอาณาจักรเก่า (The Old Kingdom : ๒,๖๘๖-๒,๑๘๑ ปีก่อนคริสตกาล):

เทพบิดรนุม (Num) เป็นเทพบรรพชนผู้สร้างโลก และเทพเจ้าทั้งหมด เป็นเทพที่ไร้ตัวตนและไม่มีรูปเคารพ ชาวอียิปต์สมัยโบราณกระทำการบูชาเทพองค์นี้ด้วยการลงไปแช่น้ำเพียงเอวแล้วยกมือขึ้นทำความเคารพ

เทพอาตุม (Atum) เดิมเป็นเทพผู้คุ้มครองสิ่งมีชีวิต เป็นผู้ช่วยเทพบิดรนุมสร้างสิ่งมีชีวิตและภูตผีทั้งหลาย ต่อมาได้ถูกรวมเข้ากับสุริยเทพรา

สุริยเทพรา (Ra) พระเป็นเจ้าสูงสุดแห่งสวรรค์ เป็นเทพแห่งดวงอาทิตย์และท้องฟ้า ทรงถือกำเนิดจากดอกบัว และทรงสร้างเทพเจ้าทั้งหมด รวมทั้งมนุษย์ ทรงเป็นผู้ปกครองสวรรค์และโลกมาตั้งแต่ยุคปฐมกาล ต่อมาได้ทรงปกครองเฉพาะทวยเทพในสวรรค์ ภารกิจของพระองค์คือประทับเรือสุริยะโคจรข้ามขอบฟ้าจากเบื้องทิศตะวันออก ผ่านนครต่างๆ ๑๒ แห่งแห่งละ ๑ ชั่วโมง แล้วจึงหายลับไปในรัตติกาลทางทิศตะวันตก เทวลักษณะเป็นเทพบุรุษ พระเศียรเป็นเหยี่ยวสวมศิราภรณ์รูปดวงสุริยะและ ยูรีอุส (Uraeus)กลับสู่ด้านบน

มหาเทพเคพรี (Khepri) หรือ เคเปรา (Khepera) เป็นเทพเจ้าแห่งนครฮีลิโอโปลิส (Heliopolis) สัญลักษณ์ของพระองค์คือดวงอาทิตย์และ แมลงสคาแร็บ (Scarab) ทรงเป็นสัญลักษณ์ของการสร้างโลก และเป็นสุริยเทพอีกองค์หนึ่ง เทวลักษณะเป็นเทพบุรุษที่มีพระเศียรเป็นรูปแมลงสคาแร็บ ถือ เซ็พเทอร์ (Sceptre) และ อังค์ (Ankh)

เทพ เก๊บ (Geb) เทพแห่งผืนดิน กำเนิดในปฐมกาลพร้อมกับสุริยเทพรา เดิมเป็นเทพที่คอยค้ำท้องฟ้าเอาไว้จนกระทั่ง พญางูอโปฟิส (Apophis) ส่งลูกสองตนมาบั่นพระวรกายของพระองค์ออก จนเป็นผลให้ท้องฟ้าถล่มลงมา ในศิลปะอียิปต์ แสดงด้วยรูปของเทพบุรุษที่อยู่ในท่านอนใต้วงโค้งของท้องฟ้า

เทพี นุท (Nut) เทวีแห่งนภากาศ กำเนิดในปฐมกาลพร้อมกับสุริยเทพราและเทพเก๊บ ทรงมีทิพยรูปเป็นเทพนารีเปลือยคร่อมโลก โดยมีเทพเก็บอยู่เบื้องล่าง และมักมีเทพชูอยู่ในท่าประทับยืนค้ำพระองค์ไว้

เทพ ชู (Shu) เทพแห่งอากาศธาตุ โอรสของเทพเก๊บและเทวีนุท เป็นผู้สังหารลูกทั้งสองของพญางูอโปฟิส และยกองค์เทวีนุทขึ้นเบื้องบนดังเดิม จนกระทั่งเทพเก๊บต่อร่างสำเร็จ ท้องฟ้าและแผ่นดินจึงคงอยู่มาได้จนถึงเวลานี้ ในทางศิลปะมักเป็นรูปเทพบุรุษยืนอยู่เหนือเทพเก๊บ ยกพระกรทั้งสองขึ้นค้ำเทวีนุทซึ่งคร่อมโลกเอาไว้ พระนามภาษากรีกว่า ซอส (Sos)

เทพี เทฟนุท (Tefnut) เป็นเทวีแห่งละอองฝนและน้ำค้าง เป็นผู้รองรับการมาเยือนโลกของเรือสุริยะ ธิดาของเทพเก๊บและเทวีนุท ขนิษฐาของเทพชู และโดยมากว่าเป็นชายาด้วยอีกตำแหน่งหนึ่ง ทรงเป็นหนึ่งในเทวีสิงโตแห่งปฐมกาล ซึ่งบางตำราถือว่าเป็นธิดาของสุริยเทพรา หรือเป็นกำลังของพระองค์ด้วย พระนามภาษากรีกว่า ธเฟนิส (Thphenis)กลับสู่ด้านบน

เทวราช อามุน (Amun) ทรงเป็นผู้ปกครองเทพเจ้าทั้งปวง ได้รับการนับถือในธีบีส (Thebes) ต่อมารวมเข้ากับสุริยเทพรา เทวลักษณะดั้งเดิมเป็นเทพบุรุษที่ทรงมีพระเศียรเป็นแกะที่มีเขาโค้งลง หรือพระเศียรแบบมนุษย์สวมศิราภรณ์ที่มีขนนก ๒ เส้น พระนามภาษากรีกว่า อัมมอน (Ammon)

มหาเทพพทาห์ (Ptah) เป็นเทพแห่งการสร้างสรรค์ และเป็นเทพผู้สร้างโลกอีกองค์หนึ่ง ซึ่งทรงได้รับการนับถือมากในเมมฟิส (Memphis) เมื่อฟาโรห์เมนีสทรงรวมรวมอาณาจักรอียิปต์บนและล่างแล้ว ทรงยกย่องพระองค์เป็นเทพสูงสุด เทวลักษณะเป็นเทพบุรุษที่มีพระเศียรโล้น มักถือเซ็พเทอร์ (Sceptre) และดเจ๊ด (Djed)

พระเทพี ฮาเธอร์ (Hathor) ทรงเป็นเทวีแห่งนภากาศอีกองค์หนึ่ง และเป็นมหาเทวีที่สำคัญที่สุดของนิกายที่นับถือสุริยเทพรา โดยเทวปกรณ์กล่าวว่าทรงเป็นธิดาและชายาขององค์สุริยเทพ ทรงเป็นเทวีแห่งความงาม ความรัก ความสุข พิธีกรรม ศิลปวิทยาการ และคุณสมบัติที่ดีของเพศหญิง เทวลักษณะเป็นเทพนารีสวมศิราภรณ์รูปเขาวัวคู่โอบดวงสุริยะ หรือปรากฏเป็นรูปวัวทั้งตัว ทรงถือ ซิสทรัม (Sistrum)พระนามภาษาอียิปต์ว่า เฮ็ท-เฮร์ท (Het-Hert)

เทวีเซ็คเมท (Sekhmet) เทวีสิงโตแห่งเมมฟิส ธิดาของสุริยเทพราซึ่งได้รับเทวโองการให้เที่ยวขจัดคนชั่วผู้คิดกบฏต่อองค์สุริยเทพ กลายเป็นสัญลักษณ์ของความโหดร้ายน่าสะพรึงกลัวจนสุริยเทพต้องทรงใช้อุบายทำให้กลับเป็นเทวีผู้พิทักษ์ดังเดิม เทวลักษณะเป็นเทพนารีที่มีพระเศียรเป็นสิงโตตัวเมีย สวมศิราภรณ์รูปดวงสุริยะและยูรีอุส พระนามภาษากรีกว่า ซัคมิส (Sakhmis)กลับสู่ด้านบน

เทพี บาสท์ (Bast) เดิมเป็นเทวีสิงโตแห่งบูบาสติสในอียิปต์ล่าง ต่อมาได้เปลี่ยนพระเศียรเป็นแมว ทรงเป็นเทวีแห่งความอุดมสมบูรณ์ ความรัก ความสนุกสนานรื่นเริง และเทวีผู้พิทักษ์ เทวลักษณะเป็นเทพนารีที่มีพระเศียรเป็นแมว หรือปรากฏในรูปแมวทั้งตัวทรงถือ ซิสทรัม (Sistrum) และตะกร้า

เทพี ไนธ์ (Neith) เป็นเทวีแห่งความร่ำรวยและการสงคราม เทวลักษณะเป็นเทพนารีที่สวมศิราภรณ์ของฟาโรห์แห่งอียิปต์บนและล่างรวมกัน เป็นที่นับถือมากในสมัย ฟาโรห์ซัมเมติคุสที่๑ (Psammeticus I) เมื่อ ๖๐๐ ปีก่อนคริสตกาล ทรงมีสัญลักษณ์เป็นลูกธนูไขว้กัน

เทพี วัดเจ็ท (Wadjet) เป็นนางพญางูศักดิ์สิทธิ์แห่งอียิปต์ล่าง และต่อมามีบทบาทในศาสนาโอสิเรียนเป็นอันมาก ทรงมีพระนามภาษากรีกว่า บูโต (Buto) และ เอ็ดโจ (Edjo)

คณะเทพที่สำคัญในสมัยอาณาจักรกลาง ( The Middle Kingdom : ๒,๐๔๐-๑,๗๘๒ ปีก่อนคริสตกาล) และสมัยอาณาจักรใหม่ (The New Kingdom : ๑,๕๗๐- ๑,๐๗๐ ปีก่อนคริสตกาล):

จอมเทพโอสิริส (Osiris) พระเป็นเจ้าสูงสุดแห่งโลก เป็นเทพในวงศ์โอสิเรียนองค์แรกที่ถือกำเนิดขึ้นโดยเทวีนุท ทรงเป็นเทพแห่งอารยธรรม ความดีงาม ความสงบสุข สติปัญญา ต่อมาได้ถูกเทพเซธ (Seth) สังหารและกลายเป็นเทพผู้พิพากษาสูงสุดในสัมปรายภพ เทวลักษณะเป็นเทพบุรุษสวมอาภรณ์ขาวแบบมัมมี่ สวมศิราภรณ์ทรงสูงแบบอาเตฟ (Atef) และถือเครื่องหมายแสดงความเป็นกษัตริย์ คือตะขอและแส้ พระนามภาษาอียิปต์ว่า อะซาร์ (Asar)กลับสู่ด้านบน

พระเทวีไอซิส (Isis) เป็นเทพลำดับที่ ๔ ในวงศ์โอสิเรียน และเป็นมหาเทวีที่ได้รับการนับถือยาวนานที่สุดในศาสนาอียิปต์ ทรงเป็นทั้งพระขนิษฐาและพระชายาของจอมเทพโอสิริส และเป็นผู้ช่วยให้จอมเทพโอสิริสได้ครองอียิปต์แทนสุริยเทพรา อีกทั้งทรงสั่งสอนชาวอียิปต์ให้เป็นผู้มีอารยธรรม รวมทั้งเป็นผู้ทรงอาคมและปรีชาญาณสูงสุด เทวลักษณะเป็นเทพนารีสวมศิราภรณ์รูปบัลลังก์ หรือรูปเขาวัวคู่โอบดวงสุริยะ พระนามภาษาอียิปต์ว่า เอเซ็ท (Eset)

เทพ ฮาร์มาคิส (Harmachis) เป็นเทพลำดับที่ ๒ในวงศ์โอสิเรียน และเป็นผู้สนับสนุนเทพโฮรุสให้ขึ้นครองราชย์ได้สำเร็จ ไม่มีบทบาทสำคัญมากนักในทางเทวปกรณ์ แต่เป็นที่รู้จักกันดีเพราะเทวลักษณะที่เป็นสิงโตมีหัวเป็นมนุษย์ อย่างที่เรียกในภาษากรีกว่า สฟิงซ์ (Sphinx) พระนามภาษาอียิปต์ว่า เฮรู เอ็ม อาคูติ (Heru em Aakhuti)

มหาเทพโฮรุส (Horus) เป็นเทพในวงศ์โอสิเรียนอีกองค์หนึ่งที่ได้รับการนับถือสูงสุดจนกระทั่งสิ้นยุคแห่งอารยธรรมอียิปต์ ทรงเป็นโอรสของจอมเทพโอสิริสและพระเทวีไอซิส ทรงถูกเทพเซธสังหารครั้งหนึ่งเมื่อยังเยาว์พระชันษา แต่ก็กลับมาเกิดใหม่และแก้แค้นแทนพระบิดาได้สำเร็จ สถาบันกษัตริย์อียิปต์ถือกันว่าสืบทอดมาจากมหาเทพองค์นี้ เทวลักษณะเป็นเทพบุรุษพระเศียรเป็นเหยี่ยวสวมศิราภรณ์ของกษัติริย์อียิปต์บนและล่าง พระนามภาษาอียิปต์ว่า เฮรู (Heru)กลับสู่ด้านบน

เทพเซธ (Seth) เป็นเทพลำดับที่ ๓ ในวงศ์โอสิเรียน และเป็นเทพแห่งความชั่วร้าย ความฉ้อฉล และพลังอำนาจอันน่าสะพรึงกลัวของทะเลทราย เป็นผู้สังหารจอมเทพโอสิริสและยึดอำนาจการปกครองอียิปต์ไว้ได้ระยะหนึ่ง ก่อนจะถูกเทพโฮรุสแก้แค้น เทวลักษณะเป็นเทพบุรุษพระเศียรเป็นลา พระนามภาษากรีกว่า ซูเทค (Sutekh)

เทพี เนฟธิส (Nephthys) เป็นเทพลำดับที่ ๕ในวงศ์โอสิเรียน และเป็นพระชายาของเทพเซธ ทรงเป็นเทวีแห่งทะเลทรายและความลึกลับ เมื่อจอมเทพโอสิริสสิ้นพระชนม์ ทรงให้การช่วยเหลือพระเทวีไอซิสในการรักษาพระวิญญาณของจอมเทพโอสิริส จึงได้รับการยกย่องให้เป็นชายาที่ถูกต้องของจอมเทพโอสิริสอีกองค์หนึ่ง เทวลักษณะเป็นเทพนารีสวมศิราภรณ์รูปอักษรไฮโรกลิฟฟิคที่เป็นพระนามในภาษาอียิปต์ว่า เน็บท์-เฮ็ท (Nebt-Het)

เทพ อนูบิส (Anubis) เป็นเทพในวงศ์โอสิเรียนอีกองค์หนึ่ง ทรงเป็นโอรสของเทวีเนฟธิสจากความสัมพันธ์ลับกับจอมเทพโอสิริส และเป็นเทพแห่งมรณศาสตร์ ทำหน้าที่ควบคุมพิธีกรรมที่เกี่ยวกับศพ รวมทั้งเป็นผู้พิทักษ์สุสาน เทวลักษณะเป็นเทพบุรุษที่มีพระเศียรเป็นสุนัขไน พระนามภาษาอียิปต์ว่า อันปู (Anpu)

เทพ ธ็อธ (Thoth) ในชั้นเดิมทรงมีความเกี่ยวข้องกับสุริยเทพรา แต่มามีบทบาทสำคัญยิ่งกว่าในนิกายโอสิเรียน โดยทรงเป็นเทพแห่งเวทมนต์และปรีชาญาณ รวมทั้งวิชาความรู้ทุกสาขา เทวลักษณะเป็นเทพบุรุษที่มีพระเศียรเป็นนกช้อนหอย (Ibis) พระนามภาษาอียิปต์ว่า ดเจฮูติ (Djehuti)

เทพโซคาร์ (Socar) เป็นเทพแห่งนครสุสานของเมมฟิส ทรงเป็นเทพแห่งความตายและการเกิดใหม่ เทวลักษณะเป็นเทพบุรุษที่ทรงมีพระเศียรเป็นเหยี่ยว สวมศิราภรณ์แบบ อาเตฟ (Atef) พัสตราภรณ์เป็นสีขาวอย่างจอมเทพโอสิริส ทรงถือเซ็พเทอร์และเครื่องหมายของฟาโรห์รวมกัน พระนามภาษากรีกว่า โซคาริส (Sokaris)

เทวีมุท (Mut) เป็นเทวีสิงโตอีกองค์หนึ่ง หรือบางครั้งอาจปรากฏในรูปแม่วัวศักดิ์สิทธิ์หรือนกแร้ง ในเวลาต่อมาได้รับการนับถือว่าเป็นมเหสีของเทวราชอามุน ทรงสวมศิราภรณ์นกแร้งและมงกฏมหาเทวีซ้อนกันสองชั้น มักปรากฏพระองค์เคียงคู่เทวราชอามุน

จันทรเทพ คอนซู (Khonsu) เทพแห่งรัตติกาล ผู้โคจรข้ามขอบฟ้ายามกลางคืนด้วยจันทรนาวา ผู้ปราบปีศาจและสิ่งชั่วร้าย เทพแห่งการพนัน เทวลักษณะเป็นยุวเทพซึ่งโกนพระเศียรเกือบหมด เว้นไว้แต่หางเปียด้านหลัง และสวมศิราภรณ์รูปจันทร์เสี้ยวกับพระจันทร์เต็มดวง

เทพี มาอัท (Ma’at) เทวีแห่งความยุติธรรม ความจริง ระเบียบ กฎเกณฑ์ และดุลยภาพ ทรงเป็นชายาของเทพธอธ พระนางประทับในหอพิพากษาของจอมเทพโอสิริส เพื่อวัดน้ำหนักของหัวใจผู้วายชนม์เปรียบเทียบกับขนนกซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระนาง เทวลักษณะเป็นเทพนารีสวมศิราภรณ์รูปขนนก ๑ เส้น พระนามภาษากรีกว่า มายเอ็ท (Mayet)

เทพ คนุม (Knum) เทพผู้ควบคุมแม่น้ำ บันดาลความอุดมสมบูรณ์ และให้กำเนิดมนุษย์ด้วยการปั้นขึ้นจากดินเหนียว เทวลักษณะเป็นเทพบุรุษมีพระเศียรเป็นแกะตัวผู้ที่มีเขาขนาดใหญ่ สวมศิราภรณ์ขนาดใหญ่ ถือเซ็พเทอร์ พระนามภาษากรีกว่า คะนูมิส (Khnoumis)

เทพ มิน (Min) เทพแห่งความอุดมสมบูรณ์ กามารมณ์ และพลังแห่งเพศชาย รวมทั้งเป็นผู้พิทักษ์ถนนหนทางต่างๆ เทวลักษณะเป็นเทพบุรุษเปลือยสวมศิราภรณ์รูปขนนกคู่ พระนามภาษากรีกว่า เคมมิส (Chemmis)

เทพี เซลเคท (Selket) เป็นเทวีแห่งเวทมนต์ และในเทวปกรณ์ว่าเป็นธิดาองค์หนึ่งของสุริยเทพรา เป็นผู้คุ้มครองการสมรส และการจารึกอักษรไฮโรกลิฟฟิค เทวลักษณะเป็นเทพนารีซึ่งมีรูปแมงป่องอยู่บนพระเศียร หรือบางครั้งปรากฏเป็นรูปแมงป่องทั้งตัว แต่มีหัวเป็นผู้หญิง พระนามภาษากรีกว่า เซลคิส (Selkis)

เทวีเทาเอเร็ท (Taueret) เป็นเทวีซึ่งปรากฏในรูปฮิปโปโปเตมัสในลักษณะที่ยืนด้วยขาหลังทั้งสอง เป็นที่นับถือกันมากในด้านการคุ้มครองเด็กเกิดใหม่และเด็กอ่อน รวมทั้งเป็นผู้พิทักษ์จารึกไฮโรกลิฟฟิคทั้งปวง พระนามภาษากรีกว่า ธีริส (Thoeris)

เทวีเฮเคท (Heket) เทวีแห่งสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำประเภทกบ (Amphibian) อาจปรากฏพระองค์ในรูปกบทั้งตัว หรือกบที่มีส่วนหัวเป็นผู้หญิง เป็นเทวีแห่งความอุดมสมบูรณ์ การพูด และการคุ้มครองเด็ก

เทพเบส (Bes) เป็นเทพพื้นเมืองซึ่งมีเทวลักษณะเด่นที่สุดในศิลปะอียิปต์ คือแม้แต่ในภาพจิตรกรรมก็แสดงออกด้วยเทวรูปด้านหน้าเสมอ เทพองค์นี้ทรงมีพระเศียรโต พระกายเตี้ยเล็ก สวมศิราภรณ์รูปขนนกกระจอกเทศ ฉลองพระองค์ด้วยหนังเสือดาว เป็นเทพแห่งการกำเนิด และคุ้มครองคนในบ้านจากภูตผีปีศาจ

เทพ โซเบค (Sebekh) เทพแห่งจระเข้ ผู้รักษากฎแห่งแม่น้ำไนล์ ปรากฏพระองค์เป็นรูปจระเข้ทั้งตัวสวมศิราภรณ์ขนนกคู่ประกอบด้วยเขาแกะ เขาวัวคู่โอบดวงสุริยะและยูรีอุสสองข้าง หรือรูปเทพเจ้าที่มีพระเศียรเป็นจระเข้สวมศิราภรณ์ชนิดเดียวกัน เป็นที่นับถือมากในราชวงศ์ที่ ๑๒-๑๓ พระนามภาษากรีกว่า ซูคอส (Suchos)

 
ปิดความเห็น บน ** เทพเจ้าของอียิปต์โบราณ

Posted by บน สิงหาคม 21, 2012 นิ้ว categorized

 

การแสดงความเห็นถูกปิด